วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

                              บริษัท อิมพีเรียลเบเกอรี่   จำกัด


ประวัติความเป็น

         กลุ่มบริษัท กิมจั๊วกรุ๊ป ได้เริ่มประกอบกิจการนำเข้าสินค้าประเภทอาหารสำเร็จรูปจากต่างประเทศและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2501 ได้ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด กิมจั๊วพาณิชย์ขึ้นเป็นบริษัทแม่ รับผิดชอบการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและจัดจำหน่ายของบริษัทในเครือ ได้แก่ บริษัท ยูไนเต็ด แดร์รี่ฟูดส์ และ บริษัท อิมพีเรียล เยนเนอรัล ฟูดส์ อินดัสทรี และสร้างชื่อเสียงจนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน
จากประสบการณ์ที่มีมาอย่างยาวนาน ทำให้ปัจจุบันห้างหุ้นส่วนจำกัด กิมจั๊วกรุ๊ป ถือเป็นหนึ่งในผู้นำเข้า สินค้ารายใหญ่ในหมวดผลิตภัณฑ์เนย ชีส ขนมหวาน วัตถุดิบส่วนผสม และอุปกรณ์ในการทำ เบเกอรี่จากทวีปยุโรป ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังได้รับลิขสิทธิ์ในการผลิตน้ำผลไม้เข้มข้นตราซันควิก เพื่อจำหน่ายทั่วประเทศอีกด้วย
ทั้งนี้ ความเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่าเพื่อผู้บริโภคตั้งแต่จุดเริ่มต้นมีดังต่อไปนี้
พ.ศ. 2515 กลุ่มบริษัทกิมจั๊วกรุ๊ปได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากบริษัทคู่ค้าชั้นนำจากต่างประเทศเพื่อเรียนรู้และประยุกต์ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีการผลิต เครื่องจักร ความรู้ความสามารถด้านการผลิตสินค้าจำพวกนมเนย โดยได้ก่อตั้งบริษัท ยูไนเต็ด แดร์รี่ ฟูดส์ จำกัด ขึ้นที่ถนนบางนา-ตราด ภายใต้ความร่วมมือจาก พีดีเอส ออสเตรเลีย ผู้เป็นเจ้าของแบรนด์อลาวรี่ ใน ขณะนั้น
พ.ศ. 2528 ได้ก่อตั้งบริษัท อิมพีเรียล เยนเนอรัล ฟูดส์ อินดรัสทรี จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานที่ได้รับสิทธิในการการผลิตเนยบัตเตอร์คุ๊กกี้ แครกเกอร์ เวเฟอร์ คัพเค้ก และน้ำตาลก้อน สำหรับจัดจำหน่ายทั่วประเทศและทั่วโลก อิมพีเรียลจึงกลายเป็นสินค้าบริโภคที่ขายดีในประเทศไทยมากว่าหลายทศวรรษ
พ.ศ. 2531 ได้ก่อตั้งธุรกิจโคนมและฟาร์มวัวภายใต้การบริหารงานของบริษัท ยูไนเต็ด แดร์รี่ฟาร์ม จำกัด ดูแลวัวกว่า 300 ตัวบนฟาร์มส่วนตัวในพื้นที่กว่า 150 ไร่ ซึ่งสามารถผลิตน้ำนมวัวกว่า 20 ตันต่อวัน เพื่อส่งมอบวัตถุดิบให้กับบริษัท ยูไนเต็ต แดร์รี่ ฟูดส์ ในการเข้าสู่กระบวนการพาสเจอร์ไรซ์นมสดและการผลิตโยเกิร์ต ทั้งนี้ก็เพื่อตอบรับความต้องการของธุรกิจขายปลีก ธุรกิจจัดเลี้ยง และโครงการนมโรงเรียนที่ทาง รัฐบาลจัดขึ้น และในปีเดียวกันนั้นกิมจั๊วกรุ๊ปได้รับความความร่วมมือจากบริษัท Co-Ro Foods A/S ประเทศเดนมาร์กในการผลิตเครื่องดื่มน้ำผลไม้เข้มข้นตราซันควิก โดยบริหารงานภายใต้บริษัท อิมพีเรียล สเปเชี่ยลตี้ ฟูดส์ จำกัด ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างสูงสำหรับผู้บริโภคชาวไทยและตอบสนองความนิยมเรื่องเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค
พ.ศ. 2550 ได้ก่อตั้ง บริษัทอิมพีเรียล เบเกอร์รี่ อีควิปเม้นต์ได้นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์เบเกอรี่ที่มีคุณภาพเทียบเท่าระดับยุโรป เช่น เตาอบ เครื่องตีแป้ง และอื่นๆ อีกมากมทาย ภายใต้แบรนด์ Sunmate แบรนด์ชั้นนำจากประเทศไต้หวัน
พ.ศ. 2551 บริษัทฯ ได้เปิดโรงเรียนศิลปะการทำเบเกอรี่และอาหารอิมพีเรียล (ไอบาฟ) ภายใต้ชื่อ อิมพีเรียล เบเกอรี่ แอนด์ ฟูด คัลลินารี สคูลอีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2552 บริษัทอิมพีเรียล เบเกอร์รี่ อีควิปเม้นต์ ได้รับการแต่งตั้งโดยบริษัท Sanneng จากประเทศไต้หวัน ให้เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์เบเกอรี่ (Bakeware) ในประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในธุรกิจเบเกอรี่อย่างครบวงจร
1 เมษายน 2554 : หจก. กิมจั๊วพาณิชย์  ได้ทำการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท กิมจั๊วกรุ๊ป จำกัด (Kim Chua Group Company Limited) พร้อมเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ใหม่ เพื่อตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการพัฒนาธุรกิจ และองค์กร ให้มีความก้าวหน้าและเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและในระดับสากล ตลอดจนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ ตามมาตรฐานสากล เพื่อคงไว้ซึ่งความเชื่อมั่นศรัทธาที่    คู่ค้าและลูกค้ามีให้กับบริษัทฯ มาอย่างยั่งยืนยาวนานกว่า 50 ปี
2555   ได้เปิดโรงงาน  ยูไนเต็ดแดรี่ฟู้ดส์ แห่งที่ 2 ขึ้นที่ถนนเทพารักษ์ เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดในปัจจุบัน  และพร้อมรับการเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตสินค้าประเภทนมเนย ซึ่งดูแลใส่ใจตั้งแต่ด้านการคัดเลือกวัตถุดิบคุณภาพสูง   วิจัยสูตรอาหารจากผู้เชี่ยวชาญ   ดำเนินการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ภายใต้ระบบจัดเก็บ ขนส่งและกระจายสินค้าที่ได้รับการจัดการอย่างมืออาชีพ  พร้อมส่งมอบความสุข  และสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อผู้บริโภคในทุกวัน  ไปยังทั่วทุกภาคของประเทศไทย ตลอดจนต่างประเทศ

วิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission)
      กิมจั๊วกรุ๊ป ให้คำมั่นว่าจะเป็นผู้นำในการสร้างสุนทรียภาพด้านอาหาร ด้วยการประยุกต์ทั้งศาสตร์และศิลป์เข้าด้วยกัน เพื่อการสร้างสรรค์และเลือกสินค้าที่มีคุณภาพระดับพรีเมียมจากทั่วมุมโลก อีกทั้งการผสมผสานระหว่าง ความรู้และความเข้าใจในรสชาติแบบต้นตำรับกับกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงและได้มาตรฐานระดับสากล ทำให้กิมจั๊วกรุ๊ปกลายเป็นศูนย์กลางในการ สร้างสรรค์ความรื่นรมย์ให้กับรสชาติได้อย่างแท้จริง

กระบวนการผลิต
           ความเชี่ยวชาญขั้นสูงและนวัตกรรมใหม่ในเทคโนโลยีผลิต
           สินค้านานาชนิดในเครือ เคซีจี กิมจั๊วกรุ๊ป ผลิตขึ้นด้วยนวัตกรรมใหม่ด้านเทคโนโลยีซึ่งให้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพสูงสุด นอกจากนี้ เครื่องจักรชั้นนำที่ใช้ในการผลิต การติดตั้ง รวมไปถึงทักษะความรู้ในด้านการผลิตเนย มาการีน และชีสผ่านกรรมวิธี ที่มีคุณภาพระดับพรีเมียม ล้วนได้รับการถ่ายทอดและเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงมาจากบริษัทคู่ค้าต่างชาติ เช่น เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ออสเตรเลีย เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา ทำให้เรากลายเป็นบริษัทในประเทศไทยที่ผลิตผลิตภัณฑ์จากนม (Dairy Product) ที่มีมาตรฐานการผลิตเทียบเท่าระดับสากล
           การวิจัยและการพัฒนา
         จากการที่ เคซีจี กิมจั๊วกรุ๊ป” มีการแลกเปลี่ยนและรับช่วงเทคโนโลยีการผลิตจากบริษัทต่างชาติ เราได้พยายามผลักดันให้บริษัทมีโอกาสเจริญเติบโตทางธุรกิจและศักยภาพที่สูงขึ้น โดยผ่านการเข้าเยี่ยมชมและเรียนรู้การผลิตของประเทศอื่นๆ ในระดับสากลอย่างต่อเนื่องพร้อมด้วยทีมงานวิจัยและพัฒนาคุณภาพสินค้า ที่ได้ทุ่มเทสรรสร้างสินค้าให้มีความหลากหลายเพื่อสามารถตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน เราไม่หยุดยั้งที่จะคิดค้นพัฒนาและออกสินค้าใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่มากขึ้น
         ผลิตภัณฑ์
1.เครื่องดื่ม     2.  เนยและสเปรด    3. เค้ก    4. อุปกรณ์ชีส    5. ชีส    6.ช็อกโกแลต  7.คุกกี้ 8.แครกเกอร์     9. แยมและไส้  10. เค้กสอดไส้11. แป้งผสม  12. เฟรนฟรายส์  13. แป้งโดว์แช่แข็ง  14. เจลาติน 15. น้ำผึ้งและน้ำเชื่อม  16. อิมพรูวเวอร์  17. มาการีนและเนยขาว  18. เนื้อสัตว์ 19. อาหารทะเล 20. น้ำตาล 21. ท้อปปิ้ง  22. เวเฟอร์  23. วิปปิ้งครีม

ค่านิยมองค์กร

 ยึดถือแนวปฏิบัติ C-P-R-A-M 5 ประการ ได้แก่
1. C-Creative คิดสร้างสรรค์
2. P-Productive หมั่นสร้างผลงาน
3. R-Relationship สานมนุษย์สัมพันธ์
4. M-Moral มีคุณธรรม
5. .A-Attitude ทัศนคติที่ดี
6. วัฒนธรรมองค์กร การทำงานเป็นทีมและ การบริหารจัดการอย่างคล่องตัว

แผนผังองค์กร


บทบาทและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายในบริษัท

1. แผนกคลังสินค้าและผลิตสินค้า
     หน้าที่ของแผนกคลังสินค้าและผลิตสินค้า
มีหน้าที่ในการตรวจสอบสินค้า จดบันทึกจำนวนสินค้าและการรับ การเก็บข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า จากแผนกขายสินค้าเพื่อส่งไปยังแผนกจัดส่งสินค้าการจัดการสินค้าการส่งสินค้าไปยังจุดจ่ายทันทีที่รับสินค้าโดยไม่เก็บสต๊อกในคลังทำให้สินค้าของลูกค้าเคลื่อนที่ได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการผลิตสินค้าภายในบริษัท
     ปัญหาคลังสินค้าและผลิตสินค้า
1.  พื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าไม่เพียงพอต่อการจัดเก็บสินค้าปริมาณมากทั้งสินค้าใหม่และสินค้าเก่า
2.  ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก  เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
3.  ฝ่ายจัดหาอุปกรณ์ไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์ที่ตรงต่อความต้องการ
4.  สี ลวดลาย และขนาด ของชิ้นงานที่ทำไม่ได้ตามปริมาณคุณภาพที่ลูกค้ากำหนด
5. เอกสารข้อมูลสินค้ามีจำนวนมาก เนื่องจากสินค้ามีหลายชนิดและหลายขนาด ทำให้การจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบ

2      2. แผนกขนส่งและการกระจายสินค้า
     หน้าที่ของแผนกขนส่งและการกระจายสินค้า
                มีหน้าที่ ขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าให้ตรงตามเวลา และสถานที่ที่กำหนด เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ โดยรับสินค้าจาก ฝ่ายผลิตและคลังสินค้า
     ปัญหาการขนส่งและกระจายสินค้า
                1. ข้อมูลมีความแตกต่าง เนื่อง ลูกค้ามีการสั่งซื้อสินค้ามาก จึงต้องมีการจัดส่งสินค้าหลายที่ ทำให้ไม่ทราบลำดับในการจัดส่งสินค้าที่ถูกต้อง
2. เอกสารข้อมูลสินค้ามีจำนวนมาก เนื่องจากสินค้ามีหลายชนิดและหลายขนาด ทำให้การจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบ
3. ระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอาจใช้เวลานานเนื่องจากต้องมีการค้นหาข้อมูลลูกค้าก่อน 

3.แผนกบัญชี
         หน้าที่ของแผนกบัญชี
                มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของการบันทึกรายการ การจัดทำรายงานทางการเงินและบัญชี และการจัดเก็บเอกสารทางบัญชี
         ปัญหาแผนกบัญชี
1.อาจเกิดข้อผิดพลาดในการคิดบัญชีรายรับ รายจ่ายได้
                2. จัดทำบัญชีย้อนหลังได้ยาก
                3. เอกสารต่าง ๆ มีจำนวนมาก
4. ค้นหาเอกสารได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
5. เอกสารสูญหายเพราะ เอกสารมีมาก และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ อาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทได้
6. การทำงบประมาณการเงินทำได้ยาก เพราะเอกสารมีจำนวนมากและจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
7. การอนุมัติงบประมาณเป็นไปอย่างล่าช้า

4. แผนกจัดซื้อ
              หน้าที่ของแผนกจัดซื้อ
                    มีหน้าที่ดูแลงานด้านจัดซื้อ จัดจ้าง งานซ่อมแซม งานสัญญาบริการ งานปรับปรุงอาคารสถานที่
ภายในมหาวิทยาลัย  งานโครงการใหญ่ๆ  ภายในมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการจัดหาผู้ออกแบบ  ผู้รับเหมา
สัญญาว่าจ้างตามที่หน่วยงานทำเรื่องขออนุมัติตามสายงาน
ปัญหาแผนกจัดซื้อ
 1 .ราคาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม่แน่นอน
 2. เวลาในการสั่งของสินค้าและได้รับนั้น ไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
 3. วัตถุดิบ ชิ้นส่วนต่างๆบางชิ้นมีราคาแพงและในการจัดส่งต้องเสียค่าจัดส่งสินค้าด้วย
 4. เวลาในการสั่งของสินค้าและได้รับนั้น ไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด

5. แผนกขาย
                หน้าที่ของแผนกขาย
                   ทำหน้าที่ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้กับลูกค้า รวมถึงแนวคิดในการเลือกจับจ่ายสินค้าด้วยตนเอง เป็นงานสำหรับคนที่รักการขาย มีทักษะในการนำเสนอ และมีความเข้าใจแนวคิด  รวมทั้งเข้าใจลูกค้าเป็นอย่างดี แผนกขายจะต้องรักษาความสะอาดเรียบร้อยของชั้นวางและบริเวณที่จัดวาง สินค้า และจัดให้มีข้อมูลพร้อมสำหรับลูกค้าเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ และยังมีหน้าที่อธิบายข้อมูล จุดเด่นของสินค้า ตอบคำถามของลูกค้า เพื่อสนองความต้องการได้อย่างตรงจุด
ปัญหาแผนกขาย
   1. เอกสารต่าง ๆ มีจำนวนมาก เอกสารต่าง ๆ มีดังนี้
      1.1 เอกสารข้อมูลลูกค้า
     1.2 เอกสารการสั่งซื้อสินค้า
     1.3 เอกสารการขาย รวมถึงรายละเอียดของตัวสินค้าที่ขาย
     1.4 รายละเอียดการรับประกันของสินค้า
 2. เอกสารต่าง ๆ ถูกค้นหาได้ยาก เพราะการจัดเก็บที่ไม่เป็นระเบียบ
 3. เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เนื่องจากเอกสารมีเยอะต้องจัดเก็บหลายที่
 4. ข้อมูลเกิดการซ้ำซ้อน เพราะ บางครั้งลูกค้า 1 ท่าน อาจซื้อสินค้า หลายครั้ง และฝ่าย
ขายมีการเก็บข้อมูลทุกครั้ง เอกสารจึงเกิดความซ้ำซ้อน

6.แผนกควบคุมคุณภาพและบุคคล
หน้าที่ของแผนกควบคุมคุณภาพและบุคคล
      มีหน้าที่วางแผน ตรวจ ควบคุม ประกันคุณภาพ ให้ได้ตามระบบคุณภาพของมาตรฐานสากล วิเคราะห์ข้อมูลเสนอแนะการแก้ไขปัญหา  การซ่อมบำรุง  และการนิรภัยภาคพื้น
ปัญหาแผนกแผนกควบคุมคุณภาพและบุคคล
   1. บุคลากรไม่เพียงพอ
   2. การบริการล่าช้า
   3. เอกสารมีจำนวนมาก ทำให้ยากต่อการจัดเก็บ
   4. การค้นหาเอกสารเป็นไปได้ยาก เนื่องจากไม่มีการจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบ 

ปัญหาระหว่างแผนกแต่ละแผนก

ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกคลังสินค้า
       ฝ่ายคลังสินค้าไม่ได้แจ้งยอดการคลังสินค้าให้แผนกบัญชีทราบ ฝ่ายบัญชีก็ไม่สามารถทำงบการเงินได้ เพราะจะต้องทราบยอดสินค้าคงเหลือของแต่ละงวด

ปัญหาระหว่างแผนกขายกับแผนกจัดส่งสินค้า
1. ถ้าแผนกขายทำเอกสารการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหายจะทำให้แผนกจัดส่งสินค้าไม่ทราบว่าจะส่งสินค้าให้กับลูกค้าไม่ได้ ไม่รู้สถานที่จัดส่งสินค้า เวลาในการนัดรับสินค้าไม่ตรงตามที่ระบุ
2. ฝ่ายขนส่งไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจนในการขนส่งสินค้าให้ลูกค้า เช่น สถานที่ ชื่อลูกค้าที่สั่งสินค้า เป็นต้น เนื่องจากฝ่ายขายไม่แจ้งให้แผนกขนส่งทราบข้อมูล

ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกจัดซื้อ
1. การอนุมัติสั่งซื่อล่าช้าทำให้ฝ่ายจัดซื้อเสียเวลาในการหาอุปกรณ์
2. ต้นทุนในการซื้อสินค้าในการขนส่งสูง รายได้ต่ำ
3. ฝ่ายจัดซื้อไม่แจ้งจำนวนเงินในการจำหน่ายสินค้าให้ฝ่ายบัญชีและการเงินทราบ ทำให้ฝ่ายบัญชีและการเงินไม่สามารถจัดทำงาบประมาณการเงินได้
      4. หากฝ่ายจัดซื้อทำใบเสร็จสูญหายฝ่ายบัญชีไม่สามารถทราบยอดสั่งซื้อทำให้ไม่สามารถทำบัญชีได้ ทำงบการเงินได้ เพราะจะต้องทราบยอดการขนส่งในแต่ละงวด

ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกขนส่ง
    ถ้าฝ่ายจัดส่งสินค้าไม่ส่งสินค้าให้กับลูกค้า แล้วไม่แจ้งการชำระเงินของลูกค้าให้ฝ่ายบัญชีทราบ ฝ่ายบัญชีก็จะไม่ทราบว่าลูกค้าชำระเงินแล้ว

ปัญหาระหว่างแผนกควบคุมคุณภาพกับแผนกผลิตสินค้า
    ถ้าแผนกควบคุมคุณภาพตรวจพบ ปัญหาที่ชิ้นงานที่ฝ่ายผลิตทำ แผนกควบคุมคุณภาพก็จะต้องตีชิ้นงานนั้นกลับไปให้ฝ่ายผลิตทำใหม่ จึงทำให้การดำเนินการผลิตนั้นเป็นไปอย่างล่าช้าไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนดและเป็นการเพิ่มต้นทุกการผลิตด้วย

ลักษณะของสถานประกอบการหรือแหล่งรายรับ-รายจ่าย
- รายรับที่ทางบริษัทได้รับคือ ได้จากการขายสินค้าต่าง ๆของบริษัทให้กับลูกค้า
-  รายจ่ายของทางบริษัทเกิดจากรายจ่ายต่าง ๆ ดังนี้
- การจ่ายเงินของพนักงานในบริษัท
- การซ่อมบำรุงเครื่องจักรในโรงงานที่ใช้ในการผลิต
- การชะรำค่าน้ำมันในการขนส่ง
- การจัดหาซื้ออุปกรณ์ในการผลิต
- การจัดหาอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ ของบริษัท

ระบบที่จะนำมาแก้ปัญหา
1. ระบบการจัดการสินค้า
2. ระบบการผลิตสินค้า
3. ระบบการพัฒนาบุคคลากร
4. ระบบบัญชี

ตารางแสดงรายการการทำงาน(Functions) หรือ กิจกรรมทั้งหมดของบริษัท
แสดงการจำแนกกิจกรรม(Activites)  ของหน้าที่ของการทำงาน (Functions)  ในบริษัท



ขั้นตอนที่ 1  
1. การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
 (Project Identification and Selection)
จากการที่ได้สำรวจปัญหาของแต่ละแผนกและปัญหาระหว่างแผนกสามารถเลือกระบบที่ต้องการพัฒนาได้ดังนี้

                1. ระบบตรวจเช็คสินค้า

                2. ระบบจัดเก็บข้อมูล

                3. ระบบการขายและการจองสินค้า

ทางบริษัทได้จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาระบบของบริษัททั้งสิ้น 300,000 บาท

2. จำแนกและจัดกลุ่มระบบ
ระบบทั้ง 3 ระบบที่ค้นหามามีวัตถุประสงค์ของแต่ละระบบ ดังนี้

1. ระบบตรวจเช็คสินค้า

                มีวัตถุประสงค์ เพื่อสามารถตรวจเช็คสินค้าได้สะดวกและรวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน อีกทั้งยังตรวจสอบสินค้าให้ได้มาตรฐานตรงความต้องการ

2. ระบบจัดเก็บข้อมูล

                มีวัตถุประสงค์ ให้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากขึ้นไม่ซับซ้อนและค้นหาตรวจสอบข้อมูลได้รวดเร็วทำให้ข้อมูลไม่สูญหายและยังประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ

3. ระบบการขายและการจองสินค้า

                มีวัตถุประสงค์ สร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นการตลาดทำให้เกิดความรวดเร็วในการขาย ลูกค้าสามารถดูสินค้า,สั่งสินค้าได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น


                เมื่อพิจารณาระบบทั้ง 3 แล้ว พบว่าล้วนให้ประโยชน์กับบริษัท จึงจำเป็นต้องคัดเลือกระบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทมากที่สุด ดังนั้นจึงเริ่มต้นด้วยการนำระบบทั้ง3 มาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของบริษัทเพื่อค้นหาระบบที่ตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุดและสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดของบริษัทได้ดังรายละเอียดจากตาราง


               จากตารางแสดงการเปรียบเทียบระบบกับวัตถุประสงค์ พบว่าแต่ละระบบสามารถตอบสนองความต้องการของบริษัทได้ทั้งหมด แต่เนื่องด้วยทางบริษัทมีงบประมาณในการพัฒนาระบบจำกัด จึงต้องนำระบบทั้ง 3 มาพิจารณาใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะต้องดูรายละเอียดของขนาดระบบ งบประมาณและผลประโยชน์ สามารถแสดงได้ดังตารางต่อไปนี้



              จากการพิจารณาโครงการทั้ง 3 โครงการตามวัตถุประสงค์ ขนาดของโครงการที่ต้องการพัฒนาและผลประโยชน์จะพบว่าโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์และให้ผลประโยชน์แก่บริษัทมากที่สุดคือ ระบบตรวจเช็คสินค้า กับ ระบบการขายและการจองสินค้า แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านเงินลงทุนของบริษัท ทางบริษัทจึงเห็นควรเลือกพัฒนาโครงการระบบตรวจเช็คสินค้า ซึ่งเป็นโครงการขนาดกลางที่ทางบริษัทสามารถให้เงินลงทุน โครงการพัฒนาระบบการขายและการจองสินค้าไปเนื่องจากใช้งบประมาณในการพัฒนาสูงกว่า

การเสนอแนวทางเลือก ในการนำระบบพัฒนาระบบตรวจเช็คสินค้ามาใช้งาน
                หลังจากที่ได้วิเคราะห์ระบบเดิมและพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือทำให้สามารถตรวจสอบคุณภาพสินค้าและตรวจเช็คสินค้าในคลังในยาก อีกทั้งมีปัญหาในเรื่องของการเบิกจ่ายและการสั่งซื้ออาจทำให้เกิดความซับซ้อนของข้อมูล เช็คย้อนหลังได้ยาก เพื่อลดปัญหาต่างๆลง ได้มีการเสนอโครงการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นทางทีมงานได้รวมรวบข้อมูลจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องและนำเสนอผู้บริหารจากนั้นจึงได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่นำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำมาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ โดยมีแนวทางเลือกในการพัฒนาโครงการ 3 แนวทาง คือ
                1.ซื้อซอฟแวร์สำเร็จรูป
                2.จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ
                3.ใช้ทีมงานเดิมมาพัฒนา
และติดตั้งระบบ

แนวทางเลือกที่ 1 : การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป 
มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้


การประเมินแนวทางเลือกที่ 1
                ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
                น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
                น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
                น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
                น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง

  ซึ่งผลจากการประเมิน โดยการให้น้ำหนักหรือคะแนนของทีมงาน ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้

สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
                ทางทีมงานได้สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกใช้ซอฟต์แวร์ A มาพิจารณา เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด

ทางเลือกที่ 2ว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ
 มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้


การประเมินแนวทางเลือกที่ 2
                ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
                น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
                น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
                น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง



ซึ่งผลจากการประเมิน โดยการให้น้ำหนักหรือคะแนนของทีมงาน ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้



สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 2



            ทางทีมงานได้สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกใช้บริษัท A มาพิจารณา เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด

 ทางเลือกที่ 3 : ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ
 มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้


การประเมินแนวทางเลือกที่ 3
                ไม่มีการประเมิน เพราะไม่มีการเปรียบเทียบ

สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่
         ทางทีมงานพิจารณาแล้วว่า มีขีดความสามารถที่จะพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของผู้ใช้งานตามที่จัดทำโดยใช้ระยะเวลาดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 5 เดือนและมีค่าใช้จ่ายในการดำ เนินงานจำนวนเงินทั้งสิ้น 250,000 บาท (ค่าเงินเดือน ค่าอุปกรณ์ ค่าล่วงเวลา ค่าเบ็ดเตล็ดและค่าสำรองฉุกเฉินเป็นต้น)


เปรียบเทียบแนวทางเลือกทั้งสาม
                ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้งสามแนวทางจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของผู้บริหารเพื่อพิจารณาเลือกแนวทางตามที่ได้นำเสนอจากทีมงานพัฒนาพร้อมข้อเสนอแนะในแต่ละแนวทางเลือกหลักทั้งสาม โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้




ผู้บริหารเลือกแนวทางที่ดีที่สุด
                หลังจากหัวหน้าทีมงานได้เสนอแนวทางเลือก โดยจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบและข้อเสนอแนะแก่ทีมผู้บริหาร โดยใช้กฎเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) ดังตารางต่อไปนี้

สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร
                ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้ง เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการลงทุนแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีของพนักงานภายในบริษัท พร้อมทั้งได้กำหนดมาตรการและมอบหมายแก่ผู้บังคับบัญชาโดยตรง คอยควบคุมดูแลทีมงานพัฒนาให้ดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้


ขั้นตอนที่ 2 

การเริ่มต้น และวางแผนโครงการ
(Project Initiating and Planning)
เป้าหมาย
นำระบบสาระสนเทศมาใช้เพื่อบริหารเวลาการทำงานในบริษัทเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงานและบริหารเวลาในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้มีความสะดวกและรวดเร็วกว่าระบบงานเดิม
2. เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ จัดเก็บ ค้นหาข้อมูลและลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
3. เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจัดการในฝ่ายต่าง ๆ ของบริษัท
4. เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง และเชื่อถือได้
ขอบเขตของระบบ
โครงการพัฒนาระบบจัดการตารางเวลาได้มีการจัดทำขึ้นโดยทีมงานพัฒนาสารสนเทศภายในบริษัทเอง(In-House Development) พร้อมนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ระบบจะต้องแบ่งการทำงานอย่างชัดเจน แต่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันได้
2. ระบบจะต้องรองรับการทำงานแบบ Multi-User ได้
3. ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก
4. ระบบมีการผิดพลาดที่น้อยที่สุด
5. ระบบต้องมีความถูกต้องและแม่นยำได้

ปัญหาที่พบจากระบบเดิม
1.ความล่าช้าในการเดินทางมาสั่งสินค้า
2.ความสิ้นเปลืองค่าเดินทางมาสั่งสินค้า
3.การสั่งสินค้าไม่เป็นระบบทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย

ความต้องการในระบบใหม่
ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้ คือ
1. ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน
2. สามารถเพิ่ม แก้ไข เปลี่ยนแปลงเวลาการทำงานให้เหมาะสม
3. การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทุกฝ่ายเช่น บัญชี การขาย คลังสินค้า ขนส่ง ควบคุมคุณภาพ จัดซื้อ ซ่อมบำรุง ออกแบบและผลิต เป็นต้น
4. การจัดทำตารางเวลาการทำงานที่สะดวกรวดเร็ว

ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
1. การทำงานจะมีความสะดวกและรวดเร็วกว่าระบบงานเดิม
2. ไม่เกิดการซ้ำซ้อนของข้อมูลเพราะมีการจัดการ จัดเก็บ ข้อมูลที่ดีกว่าเดิม
3. สามารถแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ของแต่ละแผนกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพื่อลดความผิดพลาดในการทำงาน
5. สามารถรองรับการขยายตัวของบริษัทต่อไปได้
6. ทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจในการซื้อสินค้า และมอบความน่าเชื่อถือให้บริษัท

แนวทางในการพัฒนา
          การพัฒนาระบบของบริษัท บริษัท อิมพีเรียลเบเกอรี่  อีควิปเม้นท์ จำกัด  เป็นการพัฒนาระบบในส่วนของ ของระบบการขายและระบบบัญชี ระบบคลังสินค้า ในส่วนของระบบการขายบริษัทเพื่อเพิ่มรายได้ของบริษัท สร้างภาพพจน์ที่ดีขึ้น ตามความต้องการในระบบใหม่ที่ทีมงานได้รวบรวมจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว และผ่านการอนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้วจากนั้นจึงได้จำ ลองขั้นตอนการทำ งานของระบบใหม่นำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำ มาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ ระบบที่เราต้องการวิเคราะห์จะแบ่งการทำงานออกเป็น 7  ขั้นตอน
1.               การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
2.               การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
3.               การวิเคราะห์ระบบ
4.               การออกแบบเชิงตรรกะ
5.               การออกแบบเชิงกายภาพ
6.               การพัฒนาและติดตั้งระบบ
7.               การซ่อมบำรุงระบบ
ขั้นตอนที่ 1 การค้นหาและเลือกสรรโครงการ (Project Identification and Selection)
เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงพัฒนาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัท สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และให้ผลประโยชน์กับบริษัทมากที่สุด โดยใช้ตารางเมตริกซ์ (Matrix Table) เป็นเครื่องมือประกอบการพิจารณา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ได้ดำเนินการผ่านไปแล้วในเบื้องต้น สามารถสรุปกิจกรรมได้ดังนี้
1.      ค้นหาโครงการพัฒนาระบบที่เห็นสมควรต่อการได้รับการพัฒนา
2.      จำแนกและจัดกลุ่มโครงการ
3.      เลือกโครงการที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนา

ขั้นตอนที่  2 การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (Project Initiating and Planning Planning System Development)
 เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นจัดทำโครงการด้วยการจัดตั้งทีมงาน กำหนดตำแหน่งหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน และเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด จากนั้นจะร่วมกันวางแผนจัดทำโครงการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ และประมาณการต้นทุนและกำไรที่จะได้รับจากการลงทุนในโครงการพัฒนาระบบ เพื่อนำเสนอต่อผู้จัดการ เพื่อพิจารณาอนุมัติดำเนินการในขั้นตอนต่อไป โดยในขณะที่นำเสนอโครงการอยู่นี้ถือเป็นการดำเนินในขั้นตอนที่ 2 ซึ่งใช้เทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงและสารสนเทศ (Fact –Finding Information Gathering Tchniqe)
ด้วยการสัมภาษณ์ (Interviewing) การออกแบบสอบถาม (Questionnaires) รวมทั้งพิจารณาจากเอกสารการทำงาน รายงานและแบบฟอร์มต่างๆ ของบริษัทประกอบด้วย สรุปกิจกรรมของขั้นตอนที่ 2 ได้ดังนี้
1.             เริ่มต้นโครงการ
2.             เสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน
3.             วางแผนโครงการ

ขั้นตอนที่  3 การวิเคราะห์ (System Analysis)
                เป็นขั้นตอนในการศึกษาและวิเคราะห์ถึงขั้นตอนการดำเนินงานระบบเดิม ซึ่งการที่สามารถดำเนินการในขั้นตอนนี้ได้จะต้องผ่านการอนุมัติในขั้นตอนที่ 2 ในการนำเสนอโครงการ หลังจากนั้นจะรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบแล้วนำมาศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการเหล่านั้นด้วยการใช้เครื่องมือชนิดต่างๆ ได้แก่ แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ (Process Modeling) โดยใช้แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram: DFD ) และแบบจำลองข้อมูล  (Data Modeling) โดยใช้แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (Entity Relationship Diagram : E-R Diagram) สรุปกิจกรรมในขั้นตอนที่ 3 ได้ดังนี้
1.             ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม
2.             รวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ
3.             จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้

ขั้นตอนที่ 4 การออแบบเชิงตรรกะ (Logical Design)
                เป็นขั้นตอนในการออกแบบลักษณะการทำงานของระบบตามทางเลือกที่ได้ทำการเลือกไว้จากขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบโดยการออกแบบในเชิงตรรกะนี้ยังไม่ได้มีการะบุถึงคุณลักษณะของอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ เพียงแต่กำหนดถึงลักษณะของรูปแบบรายงานที่เกิดจากการทำงานของระบบ ลักษณะของการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ ซึ่งจะเลือกใช้การนำเสนอรูปแบบของรายงาน และลักษณะของจอภาพของระบบ PIS ด้วยต้นแบบ (Prototype) จะทำให้สามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานของระบบได้ชัดเจนขึ้น สรุปกิจกรรมในขั้นตอนที่ 4 ได้ดังนี้
1.             ออกแบบฟอร์มและรายงาน (Form/Report Design)
2.             ออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช่
3.             ออกแบบฐานข้อมูลในระดับLogical

ขั้นตอนที่  5 การออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design)
                เป็นขั้นตอนที่ระบุถึงลักษณะมาทำงานของระบบทางกายภาพหรือทางเทคนิค โดยระบุถึงคุณลักษณะของอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ เทคโนโลยี โปรแกรมภาษาที่จะนำมาทำการเขียนโปรแกรม ฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการ และระบบเครือข่ายที่เหมาะสมกับระบบ สิ่งที่ได้จากขั้นตอนการออกแบบทางกายภาพนี้จะเป็นข้อมูลของการออกแบบ เพื่อส่งมอบให้กับโปรแกรมเมอร์เพื่อใช้เขียนโปรแกรมตามลักษณะการทำงานของระบบที่ได้ออกแบบและกำหนดไว้ สรุปกิจกรรมในขั้นตอนที่ 5 ได้ดังนี้

1.             ออกแบบฐานข้อมูลในระดับ Physical
2.             ออกแบบ Application

ขั้นตอนที่ 6 การพัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation)
                เป็นขั้นตอนในการนำข้อมูลเฉพาะของการออกแบบมาทำการเขียนโปรแกรม เพื่อให้เป็นไปตามลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ ที่ไดกำหนดไว้ หลังจากเขียนโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว จะต้องทำการทดสอบโปรแกรม ตรวจสอบหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมา และสุดท้ายคือการติดตั้งระบบ โดยทำการติดตั้งตัวโปรแกรม ติดตั้งอุปกรณ์ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือและจัดเตรียมหลักสูตรฝึกอบรมผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ระบบใหม่สามารถใช้งานได้ สรุปกิจกรรมในขั้นตอนที่ 6 ได้ดังนี้
1.             เขียนโปรแกรม (Coding)
2.             ทดสอบโปรแกรม (Testing)
3.             ติดตั้งระบบ (Instsllation)
4.             จัดทำเอกสาร (Documentation )
5.             จัดหลักสูตรฝึกอบรม (Training)
6.             การบริการให้ความช่วยเหลือหลังการติดตั้งระบบ (Support)

ขั้นตอนที่ 7 การซ่อมบำรุง (System Maintenance)
                เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวงจรพัฒนาระบบ (SDLC) หลังจากระบบใหม่ได้เริ่มดำเนินการ ผู้ใช้ระบบอาจจะพบกับปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากความไม่คุ้นเคยกับระบบใหม่ และค้นพบวิธีการแก้ไขปัญหานั้นเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้เอง ดังนั้นจะต้องมีทีมงานเพื่อคอยแก้ไขและเปลี่ยนแปลงระบบที่ทำการพัฒนาขึ้นจนกว่าจะเป็นที่พึ่งพอใจของผู้ใช้ระบบมากที่สุด ปัญหาที่ผู้ใช้ระบบค้นหาพบระหว่างการดำเนินงานนั้นเป็นผลดีในการทำให้ระบบใหม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ใช้ระบบเป็นผู้ที่เข้าใจในการทำงานทางธุรกิจเป็นอย่างดี โดยในขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับทารงบริษัทว่าจะมีการจัดตั้งทีมงานอย่างไร เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนในส่วนนี้ให้ได้มากที่สุด สรุปกิจกรรมในขั้นตอนที่ 7  ได้ดังนี้
1.             เก็บรวบรวมคำร้องขอให้ปรับปรุงระบบ
2.             วิเคราะห์ข้อมูลร้องขอให้ปรับปรุงระบบ
3.             ออกแบบการทำงานที่ต้องการปรับปรุง
4.             ปรับปรุงระบบ
ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
          ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับมอบหมาย อาจจะเป็นบุคคลที่มีความรู้ในด้านของระบบที่ต้องการเปลี่ยนแปลงที่ทำงานอยู่ในบริษัทหรือทางบริษัทจ้างให้ทำการวิเคราะห์ระบบ ซึ่งบุคคลจะต้องดำรงตำแหน่งเกี่ยวกับการดูแลระบบ เช่น
1. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นบุคคลที่มีความรู้ในเรื่องของการทำงานของระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้ พนักงานหรือทีมโปรแกรม จำทำเอกสารของระบบรวมถึงการทดสอบโปรแกรมของระบบ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. โปรแกรมเมอร์ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ 2 คน ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง รวมทั้งทดสอบโปรแกรมของระบบใหม่
    ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
          จากดังกล่าวเราอาจจะมีการแบ่งงานออกเป็นทีมหรือว่ามีการระบุหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายหรือแต่ละคนทราบ เพื่อที่งานจะประสบผลสำเร็จ ปัจจุบันทางบริษัทได้มีการใช้ระบบเครือข่าย LAN อยู่แล้วหรือเครือข่ายที่มีความเร็วสูงกว่านี้ มีรายละเอียดพอเข้าใจดังนี้
1. เครื่องแม่ข่าย(Server) จำนวน 6 เครื่อง
2. เครื่องลูกข่าย(Workstation) จำนวน 60 เครื่อง
3. เครื่องพิมพ์(Printer) จำนวน 10 เครื่อง
ปัจจุบันทางบริษัทได้นำเทคโนโลยีหลายอย่างมาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งปัจจุบันมีรายละเอียดดังนี้
1. ระบบโปรแกรม 1 ระบบ
2. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและลูกข่ายตามจำนวนที่บริษัทต้องการ
3. บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานของโปรแกรม
4. อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบ








สรุปงบประมาณที่ใช้ในของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้
1. ในส่วนของผู้บริหาร
- ค่าตอบแทนสำหรับทีมงานพัฒนา
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบโปรแกรมเมอร์ 85000
2. แผนกทุกแผนกที่มีการเปลี่ยนแปลงระบ
- ค่าการฝึกอบรมพนักงานใหม่เกี่ยวกับระบบใหม่ 350000
3. การจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ
- เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้ในการลงระบบ 50000
- อื่น ๆ 10000
ประมาณการใช้งบประมาณ
          จากรายการดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ที่ทางองค์กรจ่ายในการปรับปรุงระบบ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่านี้ที่ใช้เพราะในแต่ละองค์กรจะมีหลายแผนกในการทำงานและงานในแต่ละระบบจะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมาก ดังนั้นค่าใช้จ่ายจึงไม่เท่ากัน
ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
          ระยะเวลาในการดำเนินงานการวิเคราะห์ระบบของบริษัท อิมพีเรียลเบเกอรี่  อีควิปเม้นท์ จำกัดที่ต้องการนำระบบมาใช้ในการทำงานในส่วนของระบบจัดการตารางเวลาเพื่อความสะดวกในส่วนของการทำงานภายในบริษัท ซึ่งก่อนที่จะได้เริ่มทำงานนั้นเราจะต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาถึงขั้นตอนต่าง ๆ เป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน คือเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง พฤศจิกายน 2552
จากดำเนินการดังกล่าวระยะเวลาที่ใช้จริง ๆ ในการวิเคราะห์อาจจะไม่พอแต่เพื่อเป็นการสรุปอย่างคร่าว ๆ ว่าเราได้ดำเนินการอะไรไปบ้างและระบบใหม่ที่ได้จะเสร็จภายในกี่วัน  ซึ่งเราก็ได้ยกตัวอย่างไปแล้ว
รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหาร
          จากการศึกษาปัญหาที่พบจากระบบเดิมของบริษัท อิมพีเรียลเบเกอรี่  อีควิปเม้นท์ จำกัด ส่วนใหญ่บริษัทจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้วบางส่วนแต่บางระบบก็ต้องการระบบที่มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องมีการจัดทำระบบใหม่ขึ้น เมื่อเราทำการวิเคราะห์ระบบแล้วขั้นตอนต่าง ๆ ที่เราได้ทำก็จะจัดทำรายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหารเพื่อให้ทราบขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ซึ่งจะมีขั้นตอนประกอบย่อย ๆเพื่อความเข้าใจง่าย 2 ด้านดังนี้
1.ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค
           ในส่วนนี้อาจจะเกี่ยวกับ ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ขอระบบเดิมว่ามีการใช้ส่วนใดบ้าง เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้งานในด้านต่าง ๆ และอุปกรณ์อื่น ๆ
2. ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน
          ทำการศึกษาด้านต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานของผู้ใช้ของระบบใหม่ที่จะนำมาใช้กับบริษัท ซึ่งขั้นตอนนี้จะเกี่ยวกับการทดสอบ การทดลองของระบบว่าระบบใหม่นี้มีผลต่อการทำงานของบริษัทอย่างไรจากการทำงานของนักวิเคราะห์ระบบผลที่ได้ประสบผลสำเร็จระบบที่ได้เป็นที่ตรงตามความต้องการของบริษัท

ขั้นตอนที่ 3

การกำหนดความต้องการของระบบ
(System Requirements Determination)
การกำหนดความต้องการของระบบ
เมื่อโครงการพัฒนาระบบจัดการตารางเวลา ได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมา ดั้งนั้นจึงเริ่มต้นด้วยความการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม ในการกำหนดความต้องการครั้งนี้ ทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถาม (Questionnaire)
ออกแบบสอบถาม (Questionnaire)
บุคคลผู้ตอบแบบสอบถามคือผู้จัดการแผนกต่างๆ การใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนที่ต้องการพัฒนา เนื่องจากทีมงานสามารถควบคุมหัวข้อคำถามที่ต้องการรายละเอียดได้มากกว่าการสัมภาษณ์ ไม่ต้องมีกาจดบันทึก ไม่รบกวนเวลาทำงานของผู้จัดการแผนกต่างๆมากนัก สามารถเก็บข้อมูลได้มากตามการตั้งคำถามในแบบสอบถาม อีกทั้งผู้ตอบแบบสอบถามจะรู้สึกมีอิสระในการให้ข้อมูล

ตัวอย่างแบบสอบถาม





ข้อมูลและเอกสารของระบบงานเดิมที่รวบรวมได้
                จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากระบบเดิม  ด้วยวิธีการออกแบบสอบถาม  สามารถสรุปข้อมูลได้ดังนี้
1.      ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ระบบเดิม
2.      ความต้องการในระบบใหม่
3.      ตัวอย่างเอกสาร  แบบฟอร์มและรายงานของระบบเดิม
1.  ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ระบบเดิม   ทางบริษัทใช้ระบบเครือข่ายแบบ  LAN   ประกอบไปด้วย
1.   เครื่องแม่ข่าย  (Server)  จำนวน  2  เครื่อง
2.   เครื่องลูกข่าย  จำนวน  15  เครื่อ
3.  เครื่องพิมพ์(Printer)   จำนวน 2 เครื่อง
4.  อุปกรณ์ในการต่อพวงอื่นที่เกี่ยวข้องที่ทางบริษัทได้นำมาใช้งานของสำนักงานเป็นต้น
2.  ความต้องการในระบบใหม่  จากแบบสอบถามทางทีมงานสามารถสรุปความต้องการในระบบใหม่ได้ดังต่อไปนี้
1.  องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของคลังสินค้าได้
2.  องค์กรสามารถตัดสินใจในการจัดจำหน่ายสินค้าได้
3.  องค์กรมีผลการดำเนินการที่ดีขึ้น
4.  ขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ที่มีความรวดเร็ว
5.  ขั้นตอนการซื้อ-รับคืนวัตถุดิบ  มีความถูกต้อง ชัดเจนและรวดเร็วในการทำงาน
6.  การติดต่อซื้อวัตถุดิบได้สะดวกรวดเร็วเพราะเรามีข้อมูลของวัตถุดิบ
7. สามารถจัดเก็บข้อมูลวัตถุดิบ ทำให้การซื้อวัตถุดิบได้รวดเร็วและถูกต้อง และมีเอกสารยืนยันให้
8.  การทำงานของพนักงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
9.  สามารถรองรับการขยายตัวของบริษัทต่อไปได้
10. มอบความน่าเชื่อถือให้บริษัท
ความต้องการของระบบใหม่ของผู้ใช้  (User Requirement)
                จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ทำให้ทีมงานได้ข้อมูลเพิ่มเติม  จึงได้นำมาวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่  ตามความต้องการที่กล่าวมาแล้วขั้นต้นเช่น
1.     สามารถเรียกดูข้อมูลได้
2.     สามารถทำการเพิ่ม  ลบ  แก้ไขจำนวนข้อมูลที่ต้องการได้
3.     สามารถเก็บประวัติข้อมูลของวัตถุดิบได้
4.     สามารถทำการสั่งซื้อวัตถุดิบและแสดงรายการใบเสร็จสั่งซื้อได้
5.     พนักงานขายสามารถใช้ข้อมูลและใช้งานระบบได้อย่างถูกต้อง  รวดเร็วและแม่นยำ
6.     เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแผนกคลังสินค้า
7.     การจัดทำรายงานมีความสะดวกและรวดเร็ว
8. เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัท  และการเพิ่มขึ้นของจำนวนลูกค้าที่เข้ามาสมัครเป็นสมาชิก
เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการดังกล่าวข้างต้นสามารถแบ่งการทำงานออกเป็น  4  ระบบดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ  ระบบงานคลังสินค้า  ระบบการขาย  ระบบบัญชี  ระบบจัดส่งสินค้า   จะเห็นได้ว่าทั้ง  4 ระบบนี้สามารถครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้   โดยทางทีมงานจะวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานภายในแต่ละระบบย่อย  โดยจำลองเป็นแผ่นภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram: DFD)   และเจาะระบบตามที่ต้องการต่อไปเพื่อนำเสนอต่อไป        
      ขั้นตอนที่ 4
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ
(Process Modeling)ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่ (System Requirement Structuring)จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบด้วย DFD
จากการวิเคราะห์ความต้องการระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบ โดยสามารถจำลองได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD) ได้ดังนี้


อธิบาย Context Diagram
จาก Context Diagram ของระบบการขายซึงสัญลักษณ์ Process จะใช้แทนการทำงานทุกขั้นตอนของระบบนี้ โดย External Agents ที่เกี่ยวข้องกับระบบการขายนี้ได้แก่ ลูกค้า ผู้ผลิต และเจ้าของกิจการซึ่งมีข้อมูลรับเข้าและส่งออกระหว่าง External Agents ดังกล่าวกับระบบทำให้ทราบโดยภาพรวมว่าระบบการขายนี้ทำอะไรได้บ้าง และเกี่ยวข้องกับใครบ้าง (แต่จะไม่ทราบว่าทำอย่างไร) สามารถอธิบายเอกสารข้อมูลที่อยู่บน Data Flows เข้าและออกระหว่าง External Agents ของระบบได้ดังนี้
1. ผู้ผลิตสินค้า
- ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้า จ่ายชำระหนี้ ข้อมูลรับสินค้า และข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าเข้าสู่ระบบ
- ภายนอกระบบจะมีขั้นตอนต่างๆ ในการจัดการสั่งซื้อจึงสามารถแสดงใบส่งสินค้า และจ่ายชำระหนี้ให้กับระบบขายได้
2. ลูกค้า
- เมื่อได้รับข้อมูลลูกค้าและข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า พนักงานจะส่งรายการสั่งซื้อสินค้า  ข้อมูลใบเสร็จรับเงิน และใบทวงหนี้
- เมื่อระบบข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าทำงานเรียบร้อยจะแจ้งใบเสร็จข้อมูลลูกค้า และข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าให้กับผู้ผลิตสินค้า
3. เจ้าของกิจการ
- เมื่อผู้จัดการต้องการทราบข้อมูลต่าง ๆ จะส่งข้อมูลที่ต้องการค้นหาเข้าสู่ระบบ
- เมื่อระบบทำการประมวลผลเรียบร้อยจะส่งข้อมูลรายงานต่าง ๆ ให้กับเจ้าของกิจการ


Data Flow Diagram level 1



Data Flow Diagram level 2

Data Flow Diagram level 3

Data Flow Diagram level 4

Data Flow Diagram level 5



Data Flow Diagram level 6


Data Flow Diagram level 7


E-R Diagram  ของระบบการขายสินค้า       

                  ขั้นตอนการกำหนดความต้องการของระบบด้วย  E-R  Diagram
E-R Diagram


แบบจำลองข้อมูล(Data Modeling)
ขั้นตอนการกำหนดความต้องการของระบบด้วย  E-R  Diagram ระบบการขาย  
นอกจากการจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ(Process Modeling) ด้วยแผ่นภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagrma) ในการกำหนดความต้องการของระบบแล้วยังต้องจำลองข้อมูล(Data Modeling) ทั้งหมดในระบบด้วยแผนภาพแสดงความสัมพัทธ์ระหว่างข้อมูล (Entity Relationship Diagram:E-R Diagram) โดยข้อมูลนั้นมีความหมายรวมทั้งแต่ข้อมูลที่อยู่บนเอกสารหรือรายงานต่าง ๆ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบ ซึ่งแบบจำลองทั้ง 2 ที่แสดงให้เห็นเป็นแบบจำลองของระบบการขาย ซึ่งเป็นระบบใหม่ที่จะนำมาใช้แทนระบบเดิมของบริษัท ส่วนข้อมูลเดิมของบริษัท ในที่นี้ไม่ได้ทำการจำลองแบบไว้ เนื่องจากเป็นการลดขั้นตอนการพัฒนาระบบทำให้ใช้ระยะเวลาน้อยลงนั่นเอง ในระบบการขายสามารถสร้าง E-R Diagram ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. กำหนด Entity ทั้งหมดของระบบ
จากข้อเท็จจริงและสารสนเทศที่รวบรวมได้ในการสัมภาษณ์และการออกแบบสอบถาม สามารถกำหนด Entity ทั้งหมดของระบบการขายได้ดังนี้

การพัฒนาและติดตั้งระบบ
(System Implementation) 
คู่มือการใช้งานโปรแกรมระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสินค้าคงคลัง
-                   แบบฟอร์มข้อมูลสินค้า


เพิ่มสินค้า
                1. รหัสสินค้า                                       2. ประเภทสินค้า/ยี่ห้อสินค้า
                3. ชื่อสินค้า                                          4. หน่วยรับ/รายละเอียด
                5. ราคาทุน                                            6. ราคาขายปกติ
                7. ราคาขายส่ง Level 1-4                  8. คงเหลือ
                9. เตือนระดับต่ำ                                  10. เตือนระดับต่ำสุด
11. บันทึก                                             12. ลบ
13. ล้างจอ

ค้นหาสินค้า
                1. ค้นหาตามประเภท                         2. ค้นหา
                3. แสดงทั้งหมด                                  4. บันทึกการปรับปรุง
                5. ข้อมูลในตาราง                               6. รหัสสินค้า
                7. ชื่อสินค้า                                          8. ประเภทสินค้า/ยี่ห้อสินค้า
                9. รายละเอียด                                      10. ราคาทุน
                11. ราคาขาย                                        12. คงเหลือ
                13. เตือนระดับต่ำ                               14. เตือนระดับต่ำสุด

แบบฟอร์มข้อมูลการขายสินค้า



1. เลขที่การขาย                                   2. รหัสลูกค้า
3. เปิดลิ้นชัก                                        4. บันทึก
5. ล้างจอ                                               6. รหัสสินค้า
7. ชื่อสินค้า                                          8. ประเภทสินค้า/ยี่ห้อสินค้า
9. รายละเอียด                                      10. ราคาขาย/บาท
11. จำนวนขาย                                    12. เพิ่ม
13. เงื่อนไขการชำระเงิน                  14. ตั้งค่าการพิมพ์แบบฟอร์มข้อมูลการรับสินค้าที่สั่งซื้อ


                1. เลขที่รับสินค้า                                 2. ตัวแทนจำหน่าย/ผู้ผลิต
                3. บันทึก                                               4. ล้างจอ
                5. รหัสสินค้า/บาร์โค้ด                       6. ชื่อสินค้า
7. ประเภทสินค้า/ยี่ห้อสินค้า            8. รายละเอียด
9. ราคาทุน/บาท                                  10. จำนวนรับ
11. เพิ่ม


แบบฟอร์มข้อมูลลูกค้า



เพิ่มข้อมูลสินค้า
                1. รหัส                                  2. ชื่อลูกค้า
                3. ที่อยู่                                   4. เบอร์โทร
                5. FAX                                  6. E-Mail
                7. ระดับ Level ราคา          8. บันทึก
                9. ลบ                                     10. ล้างจอ
ค้นหาลูกค้า
                1. ค้นหาลูกค้า                      2. ค้นหา
                3. แสดงทั้งหมด                  4. รหัส
                5. ชื่อลูกค้า                           6. ที่อยู่

ขั้นตอนที่ 6

การพัฒนาและติดตั้งระบบระบบ

                ทีมงานได้จัดทำ คู่มือและเอกสารการใช้โปรแกรมของระบบตรวจเช็คสินค้าเพื่อให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจการทำงานของโปรแกรมได้มากยิงขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
                1 แนะนำโปรแกรมระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสินค้าคงคลังเป็นระบบที่สามารถทำงานได้หลายหน้าที่และมีระบบย่อยทั้งหมด 4 ระบบได้แก่
                1.1 ระบบข้อมูลสินค้า เป็นระบบที่สามารถตรวจเช็คสินค้าในคลังได้ สั่งซื่อสินค้า เพื่อดูว่ามีการสั่งซื้อสินค้าอะไรบ้าง แล้วตรวจรับสินค้าได้
                1.2 ระบบการขายสินค้า เป็นระบบการขายสินค้าสามารถตรวจสอบสินค้าที่บริษัทจะออกจำหน่าย ยังสามารถบอกรายละเอียดแก่ลูกค้า สามรถคำนวณราคาสินค้าให้แก่ลูกค้าไดทันทีของแต่ละเดือน
                1.3 ระบบรับสินค้าที่สั่งซื้อ  เป็นระบบทีจัดการข้อมูลสินค้า สามารถตรวจสอบการซื้อสินค้าในท้องตลาด สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ง่ายมากขึ้น และเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่องต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในระบบอื่นๆ เช่น การตรวจสินค้าที่บริษัทสั่งซื้อนั้น ถูกต้องหรือไม่ ข้อมูลการซื้อ-ขายของแต่ละเดือน                
1.4 ระบบลูกค้า   เป็นระบบบริหารงานขายจะบันทึกข้อมูลลูกค้าและบันทึกสถานะลูกค้า โดยสามารถเริ่มตั้งแต่การติดต่อครั้งแรกจนสิ้นสุดกระบวนการซื้อขาย

 ขั้นตอนที่ 7 
 การซ่อมบำรุง
                การซ่อมบำรุงนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาระบบว่าระบบนั้นมีปัญหาอะไรบ้างจะอยู่ในความดูแลของผู้พัฒนาระบบมีการดูแลระบบอย่างต่อเนื่อง  ผู้พัฒนาระบบจะค่อยอัพเดตซอฟต์แวร์ใหม่ๆที่ทันสมัยเพื่อให้โปรแกรมใช้ง่ายขึ้นกว่าเดิมและเพิ่มประสิทธิภาพ  หากมีปัญหาเกิดขึ้นผู้พัฒนาระบบจะทำการซ่อมแซมระบบอย่างรวดเร็ว






































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น